68. 04. 09
posted by: Sarayut Ch.
ฮิต: 56

วิสัยทัศน์ (VISION)

เครือข่ายบริการสุขภาพต้นแบบของการจัดการสุขภาพ ภายในปี 2569

ต้นแบบของการจัดการสุขภาพ ประกอบด้วย เครือข่ายเข้มแข็ง บริการมีมาตรฐาน ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข

เครือข่ายเข้มแข็ง หมายถึง  สถานบริการสุขภาพทุกหน่วยในอำเภอ และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีการบูรณาการงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ในการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษา พยาบาล การฟื้นฟูสมรรทภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค

บริการมีมาตรฐาน หมายถึง

  1. สถานบริการสุขภาพมีคุณภาพ มาตรฐาน ผู้รับบริการเชื่อมั่น และวางใจในระบบบริการสุขภาพที่มีระบบบริการที่โดดเด่น ไร้รอยต่อ
  2. มีการสร้างสรรค์ นวัตกรรม รูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาทางสุขภาพของพื้นที่

ประชาชนสุขภาพดี หมายถึง

ปัญหาการเจ็บป่วย การป่วยตาย และปัญหาสุขภาพที่สำคัญลดลงอย่างเป็นรูปธรรมในทุกพื้นที่

เจ้าหน้าที่มีความสุข หมายถึง

         บุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับมีสมรรถนะ มีความสุขในการปฏิบัติราชการ เป็นต้นแบบของคนสุขภาพดี

          พันธกิจ (MISSION)

  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการของเครือข่ายสุขภาพ ด้วยหลักธรรมาภิบาล นำนโยบายสุขภาพในทุกระดับ ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติทั่วทุกพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีความสุขในการปฏิบัติงาน
  2. พัฒนาสถานบริการให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐาน จัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
  3. การลดโรคและภัยสุขภาพ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสุขภาพของตนเองอย่างเข้มแข็ง ให้ประชาชนมีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางสุขภาพได้
  4. ส่งเสริมการสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมทางสุขภาพ และ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพให้มีความเป็นปัจจุบันและมีคุณภาพ รองรับการพัฒนาการบริการและการบริหารทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด

 

          ค่านิยม (Core Value)

T        = Teamwork             ความเป็นทีมงาน

A        = Accountability        ความรับผิดชอบ

M       = Meekness              ความนอบน้อม

O       = Organization           การจัดการองค์กรเป็นระบบ

T        = True happiness       มีความสุขอย่างแท้จริง

           ทีมสุขภาพอำเภอตะโหมด มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม ภายใต้ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง โดยมีความนอบน้อมเป็นพื้นฐานของการทำงาน เพื่อให้มีการจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบแบบแผน มีความสุขอย่างแท้จริงทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ (STRATEGIC ISSUE)

  • การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ บุคลากรให้มีความสุข
  • การพัฒนาสถานบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ และระบบบริการที่มีมาตรฐาน
  • การลดโรคและและภัยสุขภาพที่สำคัญของอำเภอ แบบมีส่วนร่วมจากภาคีทุกภาคส่วน โดยการจัดการสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
  • การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย และนวตกรรมทางสุขภาพ

 กลยุทธ์ (Strategies)

  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรรมาภิบาล
  2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง
  3. พัฒนาองค์กรคุณธรรม
  4. พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะตามที่กำหนดและกระจายบุคลากรให้เหมาะสม
  5. ส่งเสริม สนับสนุน งานวิจัย และนวตกรรม
  6. พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
  7. สนับสนุนการเพิ่มรายได้จากการให้บริการ ประชาชนพื้นที่รอยต่อ รายได้จากงบจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน
  8. ส่งเสริมภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพชุมชน
  9. จัดระบบการประสานและบูรณาการงานให้มีประสิทธิภาพ
  10. ส่งเสริมการจัดการสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
  11. พัฒนาและขยายเครือข่ายการจัดการโรคและภัยสุขภาพ
  12. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  13. พัฒนาระบบการนิเทศงานและประเมินผล
68. 03. 06
posted by: Sarayut Ch.
ฮิต: 199
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Amphoe_9304.svg
 

ตะโหมด เป็นอำเภอในจังหวัดพัทลุง เดิมเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอปากพะยูน ในปี พ.ศ. 2499 ตำบลตะโหมดได้ถูกโอนย้ายมาขึ้นกับอำเภอเขาชัยสน[1] แยกตั้งเป็นกิ่งอำเภอตะโหมดในปี พ.ศ.2520 [2] ก่อนที่จะยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตะโหมดในปี พ.ศ.2529[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอตะโหมด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอตะโหมดแบ่งเขตการปกครองท้องที่ย่อยออกเป็น 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่

1. แม่ขรี     (Mae Khari)     11 หมู่บ้าน  
2. ตะโหมด     (Tamot)     12 หมู่บ้าน  
3. คลองใหญ่     (Khlong Yai)     10 หมู่บ้าน  

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอตะโหมดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแม่ขรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ขรี (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 6–7) และตำบลโคกสัก (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 7–8, 10) ในเขตอำเภอบางแก้ว
  • เทศบาลตำบลตะโหมด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโหมด (เฉพาะพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 3–4, 9, 11–12) และตำบลคลองใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 9)
  • เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโหมด (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–2, 5–8, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 3–4, 9, 11–12 ; เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตะโหมด)
  • เทศบาลตำบลควนเสาธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ขรี (เฉพาะพื้นที่หมู่ 2–5, 8–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 6–7 ; เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแม่ขรี)
  • เทศบาลตำบลคลองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 3–8, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2, 9 ; เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลตะโหมด)

อ้างอิง

  1.  "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดพัทลุง พ.ศ.๒๔๙๙" (PDF)ราชกิจจานุเบกษา73 (16 ก): 147–150. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2499
  2.  "ประกาศกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเขาชัยสน ตั้งตำบลตะโหมดเป็นกิ่งอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง" (PDF)ราชกิจจานุเบกษา94 (70 ง): 3188. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26.
  3.  "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอคลองลาน อำเภอสุคิริน อำเภอตะโหมด อำเภอห้วยทับทัน และอำเภอปากคาด พ.ศ.๒๕๒๙" (PDF)ราชกิจจานุเบกษา103 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 4-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-26. วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2529
68. 03. 04
posted by: Sarayut Ch.
ฮิต: 105

จากลักษณะพีระมิดประชากร อำเภอตะโหมดมีพีระมิดทรงกรวยปากแคบ หรือ พีระมิดแบบคงที่ (Stationary Pyramid) แสดงถึงโครงสร้างของประชากรที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ มีรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ค่อนข้างต่ำ โดยมีประชากรกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานมากที่สุด และอำเภอตะโหมดกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นในการดำเนินงานด้านสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคในกลุ่มประชากรวัยดังกล่าวจึงถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ ในการพิจารณาการดำเนินงานสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพ

 

หมวดหมู่รอง