วิสัยทัศน์ (VISION)
เครือข่ายบริการสุขภาพต้นแบบของการจัดการสุขภาพ ภายในปี 2569
ต้นแบบของการจัดการสุขภาพ ประกอบด้วย เครือข่ายเข้มแข็ง บริการมีมาตรฐาน ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข
เครือข่ายเข้มแข็ง หมายถึง สถานบริการสุขภาพทุกหน่วยในอำเภอ และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน มีการบูรณาการงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ในการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษา พยาบาล การฟื้นฟูสมรรทภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
บริการมีมาตรฐาน หมายถึง
- สถานบริการสุขภาพมีคุณภาพ มาตรฐาน ผู้รับบริการเชื่อมั่น และวางใจในระบบบริการสุขภาพที่มีระบบบริการที่โดดเด่น ไร้รอยต่อ
- มีการสร้างสรรค์ นวัตกรรม รูปแบบการจัดบริการสุขภาพที่สามารถแก้ปัญหาทางสุขภาพของพื้นที่
ประชาชนสุขภาพดี หมายถึง
ปัญหาการเจ็บป่วย การป่วยตาย และปัญหาสุขภาพที่สำคัญลดลงอย่างเป็นรูปธรรมในทุกพื้นที่
เจ้าหน้าที่มีความสุข หมายถึง
บุคลากรสาธารณสุขในทุกระดับมีสมรรถนะ มีความสุขในการปฏิบัติราชการ เป็นต้นแบบของคนสุขภาพดี
พันธกิจ (MISSION)
- พัฒนาระบบบริหารจัดการของเครือข่ายสุขภาพ ด้วยหลักธรรมาภิบาล นำนโยบายสุขภาพในทุกระดับ ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติทั่วทุกพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีความสุขในการปฏิบัติงาน
- พัฒนาสถานบริการให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐาน จัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค
- การลดโรคและภัยสุขภาพ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสุขภาพของตนเองอย่างเข้มแข็ง ให้ประชาชนมีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางสุขภาพได้
- ส่งเสริมการสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมทางสุขภาพ และ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพให้มีความเป็นปัจจุบันและมีคุณภาพ รองรับการพัฒนาการบริการและการบริหารทั้งในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
ค่านิยม (Core Value)
T = Teamwork ความเป็นทีมงาน
A = Accountability ความรับผิดชอบ
M = Meekness ความนอบน้อม
O = Organization การจัดการองค์กรเป็นระบบ
T = True happiness มีความสุขอย่างแท้จริง
ทีมสุขภาพอำเภอตะโหมด มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม ภายใต้ความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง โดยมีความนอบน้อมเป็นพื้นฐานของการทำงาน เพื่อให้มีการจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบแบบแผน มีความสุขอย่างแท้จริงทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ (STRATEGIC ISSUE)
- การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ บุคลากรให้มีความสุข
- การพัฒนาสถานบริการสุขภาพให้มีคุณภาพ และระบบบริการที่มีมาตรฐาน
- การลดโรคและและภัยสุขภาพที่สำคัญของอำเภอ แบบมีส่วนร่วมจากภาคีทุกภาคส่วน โดยการจัดการสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
- การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย และนวตกรรมทางสุขภาพ
กลยุทธ์ (Strategies)
- พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรรมาภิบาล
- พัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง
- พัฒนาองค์กรคุณธรรม
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะตามที่กำหนดและกระจายบุคลากรให้เหมาะสม
- ส่งเสริม สนับสนุน งานวิจัย และนวตกรรม
- พัฒนาระบบบริการสุขภาพ
- สนับสนุนการเพิ่มรายได้จากการให้บริการ ประชาชนพื้นที่รอยต่อ รายได้จากงบจ่ายตามผลการปฏิบัติงาน
- ส่งเสริมภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพชุมชน
- จัดระบบการประสานและบูรณาการงานให้มีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมการจัดการสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ
- พัฒนาและขยายเครือข่ายการจัดการโรคและภัยสุขภาพ
- พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเชื่อมโยงกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบการนิเทศงานและประเมินผล